สนทนา ธรรมดี มีสาระ
ท่านควรจะ ศึกษา หาข้อมูล
พูดไพเราะดี มีผล ไพบูลย์
ที่เกื้อกูล สติ แลปัญญา
ควรกล่าว ในสิ่ง ที่เป็นธุระ
รู้กาละ เทศะ แลเนื้อหา
พูดด้วย ตั้งใจดี มีเมตตา
ด้วยศรัทธา เลื่่อมใส ในพระธรรม
การสนทนาธรรมตามกาล คือ อะไร ?
การสนทนาธรรมตามกาล คือ การพูดคุยซักถามเกี่ยวกับธรรมะซึ่งกันและกัน ตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น โดยผู้สนทนาจะต้องรู้จักเลือกและแบ่งเวลาให้เหมาะสมด้วย จึงจะได้รับประโยชน์ และขะทำให้ได้รับความเบิกบานใจ มีความสุขความเจริญและกุศลเจริญยิ่งขึ้น
ความหมายของคำว่า ธรรมะ มี ๒ ประการ
๑. ธรรมะ หมายถึง สภาพธรรมที่มีจริงกำลังปรากฏขณะนี้ให้รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ
๒. ธรรมะ หมายถึง ความดีความถูกต้อง
การสนทนาธรรมที่ถูกต้อง หมายถึง การสนทนาให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงตามความเป็นจริงของสภาพธรรม ให้รู้สภาพธรรมที่เป็นกุศลธรรม อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม (ไม่ดีไม่ชั่ว) รู้เท่าทันสภาพธรรมที่เกิดดับ ไม่หลงผิดยึดถือสิ่งที่เกิดชั่วขณะแล้วดับไป ว่าเป็นวัตถุสิ่งของ ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา
ความยากในการสนทนาธรรม
๑. คู่สนทนาต้องมีความสามารถในถ่ายทอดความรู้ ตามที่ตนเข้าใจอย่างถูกต้องได้ด้วย โดยยึดหลักในมงคลที่ ๑๐ มีวาจาดี มีความสุภาพเป็นบรรทัดฐาน
๒. คู่สนทนาต้อฟังธรรมะเป็น คือ ฟังด้วยความพิจารณา รู้จักไตร่ตรองตามธรรม หยิบยกเอาประโยชน์จากการฟังนั้นมาสนทนา ซึ่งยากกว่าการพูดธรรมให้ผู้อื่นฟังหลายเท่า เพราะเหตุว่า
๒.๑ ยากที่จะควบคุมใจให้อยากฟังธรรม
๒.๒ ยากที่จะยอมรับธธรมที่ได้ยินนั้นเข้าสู่ใจ
๓. คู่สนทนาต้องสนทนาธรรมะเป็น คือ ต้องฟังเป็นด้วย และพูดด้วยในเวลาเดียวกัน
ข้อควรปฏิบัติในการสนทนาธรรม
๑. ต้องชำระศีลให้บริสุทธิ์ก่อน
๒. ต้องหมั่นเจริญสมาธิภาวนาเป็นประจำ
๓. แต่งกายสุภาพ
๔. วาจาสุภาพ
๕. กิริยาสุภาพ
๖. ไม่กล่าวค้านพุทธพจน์
๗. ไม่พูดวาจาที่ทำให้เกิดความแตกร้าว
๘. ไม่แสดงอาการโกรธเมื่อถูกขัดแย้ง
๙. ไม่ปรารถนาลากมก
๑๐. ตั้งจิตไว้ว่าจะสนทนาธรรมเพื่อให้เกิดปัญญา
๑๑. ไม่พูดออกนอกเรื่องที่ตั้งประเด็นไว้
๑๒. ไม่พูดนานไปจนน่าเบื่อ รู้จักกาลเทศะ
วิธีสนทนาธรรม
๑. สนทนาด้วยธรรม คือ เรื่องที่จะสนทนากัน ต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรม ให้อยู่ในวงธรรม อย่าออกนอกวง
๒. สนทนาด้วยธรรม คือ ผู้ที่สนทนากันจะต้องไม่แสดงกิริยาวาจาให้ผิดธรรมะ
๓. สนทนาเพื่อธรรม คือ ผู้สนทนาต้องตั้งจุดมุ่งหมายไว้ในใจให้แน่นอนว่า เราจะหาความรู้ความเข้าใจในธรรมะให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
วิธีเลือกคู่สนทนาธรรม
๑. คู่สนทนาต้องมีอัธยาศัยใฝ่ธรรมและสงบเสงี่ยมเยี่ยงสมณะ
๒. เรื่องที่จะสนทนาต้องเหมาะสมกับบุคคลนั้น ๆ
การสนทนาธรรมในครอบครัว
ในปัจจุบันนี้ ตามบ้านคนโดยทั่วไปส่วนใหญ่จะมีห้องพระไว้สำหรับไหวพระสวดมนต์ แต่โอกาสที่จะได้สวดมนต์ร่วมกันในครอบครัวนั้นคงไม่ค่อยอำนวยนัก เพราะเหตุว่า พ่อแม่ต่างก็มีภาระกิจยุ่งวุ่นวายอยู่กับเรื่องการทำงานหาเลี้ยงครอบครัว ส่วนลูก ๆ ก็เรียนหนังสือ ค่ำมาก็ทำกิจส่วนตัว จึงไม่มีเวลาที่จะได้สนทนาธรรมกัน เมื่อหาเวลาเหมาะ ๆ ไม่ได้ ก็ควรใช้เวลาตอนรับประทานอาหารร่วมกัน ตอนเช้า
หรือตอนเย็นแล้วแต่จะสะดวกมื้อไหน พ่อแม่ควรที่จะพูดเกี่ยวกับธรรมเบื้องต้นให้ลูกฟังบ่อย ๆ จนลูกเกิดความศรัทธาในพระธรรม ใฝ่ที่รู้มากขึ้น ๆ ควรพูดในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำ จะใช้วิธีฟังธรรมะจากเทปหรือซีดีธรรมะก็ได้ เมื่อเด็กเข้าใจมากขึ้นก็มีการอบรมเจริญสมาธิร่วมกันกามกาลบ้าง
มีการสวดมนต์ร่วมกันในวันหยุดบ้าง เมื่อเด็กได้รับการฝึกฝนอบรมขัดเกลาจิตอย่างต่อเนื่อง เด็กจะมีอุปนิสัยดีขึ้น จะว่านอนสอนง่าย มีระเบียบวินัยดี มีความรับผิดชอบดี จะรู้จักละอายเกรงกลัวต่อบาป จะมีกิริยามารยาทดีขึ้น ครอบครัวจะมีความร่มเย็นเป็นสุข มีความเจริญก้าวหน้าในกิจการงาน เพราะเหตุว่า มีจิตใจที่สงบสุข มีสติปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงของสภาพธรรมต่าง ๆ เพราะฉะนั้น การสนทนาในครอบครัวจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง
อานิสงส์ของการสนทนาธรรมตามกาล
๑. ทำให้จิตเป็นกุศล
๒. ทำให้มีไหวพริบปฏิภาณดี
๓. ทำให้มีสติปัญญาเแลี่ยวฉลาด
๔. ทำให้ได้ยินได้ฟังธรรมที่ตนยังไม่ได้ฟัง
๕. ธรรมที่ฟังแล้ว ยังไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจชัดขึ้น
๖. ทำให้บรรเทาควมสงสัยเสียได้
๗. เป็นการทำความเห็นของตนให้ตรง
๘. เป็นการฝึกฝนอบรมจิตใจให้บริสุทธิ์
๙. เป็นการรักษาประเพณีอันดีงามของพระอริยเจ้า
๑๐. ชื่อว่าได้ดำเนินตามปฏิปทา อันเป็นวงศ์ของนักปราชญ์
๒. ธรรมะ หมายถึง ความดีความถูกต้อง
การสนทนาธรรมที่ถูกต้อง หมายถึง การสนทนาให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงตามความเป็นจริงของสภาพธรรม ให้รู้สภาพธรรมที่เป็นกุศลธรรม อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม (ไม่ดีไม่ชั่ว) รู้เท่าทันสภาพธรรมที่เกิดดับ ไม่หลงผิดยึดถือสิ่งที่เกิดชั่วขณะแล้วดับไป ว่าเป็นวัตถุสิ่งของ ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา
ความยากในการสนทนาธรรม
๑. คู่สนทนาต้องมีความสามารถในถ่ายทอดความรู้ ตามที่ตนเข้าใจอย่างถูกต้องได้ด้วย โดยยึดหลักในมงคลที่ ๑๐ มีวาจาดี มีความสุภาพเป็นบรรทัดฐาน
๒. คู่สนทนาต้อฟังธรรมะเป็น คือ ฟังด้วยความพิจารณา รู้จักไตร่ตรองตามธรรม หยิบยกเอาประโยชน์จากการฟังนั้นมาสนทนา ซึ่งยากกว่าการพูดธรรมให้ผู้อื่นฟังหลายเท่า เพราะเหตุว่า
๒.๑ ยากที่จะควบคุมใจให้อยากฟังธรรม
๒.๒ ยากที่จะยอมรับธธรมที่ได้ยินนั้นเข้าสู่ใจ
๓. คู่สนทนาต้องสนทนาธรรมะเป็น คือ ต้องฟังเป็นด้วย และพูดด้วยในเวลาเดียวกัน
ข้อควรปฏิบัติในการสนทนาธรรม
๑. ต้องชำระศีลให้บริสุทธิ์ก่อน
๒. ต้องหมั่นเจริญสมาธิภาวนาเป็นประจำ
๓. แต่งกายสุภาพ
๔. วาจาสุภาพ
๕. กิริยาสุภาพ
๖. ไม่กล่าวค้านพุทธพจน์
๗. ไม่พูดวาจาที่ทำให้เกิดความแตกร้าว
๘. ไม่แสดงอาการโกรธเมื่อถูกขัดแย้ง
๙. ไม่ปรารถนาลากมก
๑๐. ตั้งจิตไว้ว่าจะสนทนาธรรมเพื่อให้เกิดปัญญา
๑๑. ไม่พูดออกนอกเรื่องที่ตั้งประเด็นไว้
๑๒. ไม่พูดนานไปจนน่าเบื่อ รู้จักกาลเทศะ
วิธีสนทนาธรรม
๑. สนทนาด้วยธรรม คือ เรื่องที่จะสนทนากัน ต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรม ให้อยู่ในวงธรรม อย่าออกนอกวง
๒. สนทนาด้วยธรรม คือ ผู้ที่สนทนากันจะต้องไม่แสดงกิริยาวาจาให้ผิดธรรมะ
๓. สนทนาเพื่อธรรม คือ ผู้สนทนาต้องตั้งจุดมุ่งหมายไว้ในใจให้แน่นอนว่า เราจะหาความรู้ความเข้าใจในธรรมะให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
วิธีเลือกคู่สนทนาธรรม
๑. คู่สนทนาต้องมีอัธยาศัยใฝ่ธรรมและสงบเสงี่ยมเยี่ยงสมณะ
๒. เรื่องที่จะสนทนาต้องเหมาะสมกับบุคคลนั้น ๆ
การสนทนาธรรมในครอบครัว
ในปัจจุบันนี้ ตามบ้านคนโดยทั่วไปส่วนใหญ่จะมีห้องพระไว้สำหรับไหวพระสวดมนต์ แต่โอกาสที่จะได้สวดมนต์ร่วมกันในครอบครัวนั้นคงไม่ค่อยอำนวยนัก เพราะเหตุว่า พ่อแม่ต่างก็มีภาระกิจยุ่งวุ่นวายอยู่กับเรื่องการทำงานหาเลี้ยงครอบครัว ส่วนลูก ๆ ก็เรียนหนังสือ ค่ำมาก็ทำกิจส่วนตัว จึงไม่มีเวลาที่จะได้สนทนาธรรมกัน เมื่อหาเวลาเหมาะ ๆ ไม่ได้ ก็ควรใช้เวลาตอนรับประทานอาหารร่วมกัน ตอนเช้า
หรือตอนเย็นแล้วแต่จะสะดวกมื้อไหน พ่อแม่ควรที่จะพูดเกี่ยวกับธรรมเบื้องต้นให้ลูกฟังบ่อย ๆ จนลูกเกิดความศรัทธาในพระธรรม ใฝ่ที่รู้มากขึ้น ๆ ควรพูดในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำ จะใช้วิธีฟังธรรมะจากเทปหรือซีดีธรรมะก็ได้ เมื่อเด็กเข้าใจมากขึ้นก็มีการอบรมเจริญสมาธิร่วมกันกามกาลบ้าง
มีการสวดมนต์ร่วมกันในวันหยุดบ้าง เมื่อเด็กได้รับการฝึกฝนอบรมขัดเกลาจิตอย่างต่อเนื่อง เด็กจะมีอุปนิสัยดีขึ้น จะว่านอนสอนง่าย มีระเบียบวินัยดี มีความรับผิดชอบดี จะรู้จักละอายเกรงกลัวต่อบาป จะมีกิริยามารยาทดีขึ้น ครอบครัวจะมีความร่มเย็นเป็นสุข มีความเจริญก้าวหน้าในกิจการงาน เพราะเหตุว่า มีจิตใจที่สงบสุข มีสติปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงของสภาพธรรมต่าง ๆ เพราะฉะนั้น การสนทนาในครอบครัวจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง
อานิสงส์ของการสนทนาธรรมตามกาล
๑. ทำให้จิตเป็นกุศล
๒. ทำให้มีไหวพริบปฏิภาณดี
๓. ทำให้มีสติปัญญาเแลี่ยวฉลาด
๔. ทำให้ได้ยินได้ฟังธรรมที่ตนยังไม่ได้ฟัง
๕. ธรรมที่ฟังแล้ว ยังไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจชัดขึ้น
๖. ทำให้บรรเทาควมสงสัยเสียได้
๗. เป็นการทำความเห็นของตนให้ตรง
๘. เป็นการฝึกฝนอบรมจิตใจให้บริสุทธิ์
๙. เป็นการรักษาประเพณีอันดีงามของพระอริยเจ้า
๑๐. ชื่อว่าได้ดำเนินตามปฏิปทา อันเป็นวงศ์ของนักปราชญ์
ฯลฯ
..................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น