กามเป็นเหตุ แห่งทุกข์ ทั้งมวล
ทุกท่านควร ศึกษา หาลู่ทาง
ชำระ ความเห็นผิด จิตเป็นกลาง
ฝึกปล่อยวาง ให้ว่าง จากตัวตน
ควรมี วิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่
ระลึกรู้ ตามจริง ไม่สับสน
เพื่อรู้ ประจักษ์แจ้ง ต้องอดทน
บรรลุผล แน่แท้ คือนิพพาน
นิพพาน คือ อะไร ?
นิพพาน แปลว่า ความสูญ ความพ้น คือ สูญจากความทุกข์ ดับทุกข์ ดับกิเลส พ้นจากทุกข์ พ้นจากภพสาม
นิพพาน เป็นสภาพธรรมที่อยู่เหนือกฏไตรลักษณ์ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์ ไม่มีเกิดไม่มีดับ ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย เป็นสภาพธรรมที่สุขยิ่ง ดั่งพระพุทธพจน์กล่าวไว้
"นิพพานํ ปรมํ สุขํ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง"
ม.ม.๑๓/๒๘๗/๒๘๑
"ความเกิดแห่งนิพพานใดย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งนิพพานนั้นมิได้มี ย่อมปรากฏอยู่โดยแท้ นิพพานเป็นคุณชาติเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มิได้มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันอะไร ๆ นำไปไม่ได้ ไม่กำเริบ" ขฺ.จฺ.๓๐/๖๕๙/๓๑๕
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์" ขฺ. อฺ. ๒๕/๑๕๘/๒๐๖
"โลกนี้แลโลกหน้า เราผู้รู้อยู่ ประกาศดีแล้ว เราเป็นผู้ตรัสรู้เอง ทราบชัดซึ่งสรรพโลกทั้งที่เป็นโลกอันมารถึงได้ ทั้งที่เป็นโลกอันมีมัจจุถึงไม่ได้ ด้วยความรู้ยิ่ง จึงได้เปิดอริยมรรคอันเป็นประตูแห่งอมตะ เพื่อให้ถึงนิพพานอันเป็นแดนเกษม กระแแสแห่งมารอันลามก เราตัดแล้ว กำจัดแล้ว ทำให้ปราศจากความเหิมแล้ว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ ปรารถนาถึงธรรมอันเป็นแดนเกษมเถิด" ม.มูล. ๑๒/๓๙๑/๔๒๑
"ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป ย่อมไปรวมยังมหาสมุทรและสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุ ย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น แม้ข้อที่ภิกษุจำนวนมาก ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุ ย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๕ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ " วิ. จฺลฺล. ภาค ๒ ๗/๔๖๑/๒๒๗
"นิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว เป็นสุขดีหนอ ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี ปลอดโปร่งเป็นที่ที่ความทุกข์ดับไป" ขฺ. เถร.๒๖/๓๐๙/๓๐๕
ทหารเมื่ออยู่ในหลุมหลบภัย ย่อมปลอดภัยจากอาวุธร้ายของศัตรูฉันใด ผู้ที่มีใจจรดนิ่งอยู่ในนิพพาน ก็ย่อมปลอดภัยจากทุกข์ทั้งปวงฉันนั้น
นิพพานมีอยู่ ๒ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
๑. สอุปาทิเสสนิพพาน เรียกว่า นิพพานเป็น อยู่ในศูนย์กลางธรรมกายในตัวของเราทุกคน ที่ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ สามารถเข้าถึงนิพพานได้ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังเป็น ๆ อยู่ เป็นนิพพานของพระอริยเจ้าผู้ละกิเลสได้แล้ว แต่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่สัตว์โลกต่อไป พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเข้านิพพานเช่นนี้ได้เมื่อวันที่พระองค์ตรัสรู้
๒. อนุปาทิเสสนิพพาน เรียกว่า นิพพานตาย เป็นเหตุว่างอยู่นอกภพสาม ผู้ที่หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ เมื่อเบญจขันธ์ดับ (กายเนื้อแตกทำลายลง) เหลือแต่ธรรมขันธ์ (ธรรมกาย) ก็จะถูกอายตนนิพพานนี้ ดึงดูดให้ไปปรากฏที่นั่น เสวยความสุขอันเป็นอมตะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อปรินิพพานแล้ว ธรรมกายของพระองค์ก็ไปปรากฏประทับอยูที่อายตนนิพพานนี้เอง โดยมีธรรมกายของพระอรหันตสาวกอยู่ล้อมรอบ
ผู้ที่สามารถทำนิพพานให้แจ้งได้
ผู้ที่จะทำนิพพานให้แจ้งได้ก็คือ พระอริยบุคคลทุกระดับ ทั้งพระอรหัน พระอนาคามี
พระสกิทาคามี พระโสดาบัน รวมทั้งโคตรภูบุคคล
บางท่านอาจจะสงสัยว่า โคตรบุคคลซึ่งยังไม่หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ แต่ก็เข้านิพพานได้ เหตุที่โคตรภูบุคคลเข้านิพพานได้ เพราะขณะใดที่เมื่อจิตจรดเข้าพระนิพพาน ขณะนั้นก็หมดทุกข์ กิเลสทำอะไรไม่ได้ แต่ทว่าจิตยังไม่มีกำลังพอที่จะจรดอยู่ในนิพพานได้ตลอดเวลา เมื่อไรจิตรู้อารมณ์ภายนอกที่มากระทบ เมื่อนั้นก็ยังมีความทุกข์อยู่
โคตรภูญาณเห็นนิพพานได้ แต่ยังตัดกิเลสไม่ได้
" ถึงแม้ว่า โคตรภูญาณจะเห็นนิพพานก่อนกว่ามรรคก็จริง ถึงกระนั้นก็ไม่เรียกว่า ทัสสนะ เพราะได้แต่เห็น แต่ไม่มีการละกิเลสอันเป็นกิจที่ต้องทำ" สารัตถทีปนี อรรถกถาสังยุตตนิกาย เล่ม ๓ หน้า ๑๑๕
ผู้ที่จะทำนิพพานให้แจ้งได้ก็คือ พระอริยบุคคลทุกระดับ ทั้งพระอรหัน พระอนาคามี
พระสกิทาคามี พระโสดาบัน รวมทั้งโคตรภูบุคคล
บางท่านอาจจะสงสัยว่า โคตรบุคคลซึ่งยังไม่หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ แต่ก็เข้านิพพานได้ เหตุที่โคตรภูบุคคลเข้านิพพานได้ เพราะขณะใดที่เมื่อจิตจรดเข้าพระนิพพาน ขณะนั้นก็หมดทุกข์ กิเลสทำอะไรไม่ได้ แต่ทว่าจิตยังไม่มีกำลังพอที่จะจรดอยู่ในนิพพานได้ตลอดเวลา เมื่อไรจิตรู้อารมณ์ภายนอกที่มากระทบ เมื่อนั้นก็ยังมีความทุกข์อยู่
โคตรภูญาณเห็นนิพพานได้ แต่ยังตัดกิเลสไม่ได้
" ถึงแม้ว่า โคตรภูญาณจะเห็นนิพพานก่อนกว่ามรรคก็จริง ถึงกระนั้นก็ไม่เรียกว่า ทัสสนะ เพราะได้แต่เห็น แต่ไม่มีการละกิเลสอันเป็นกิจที่ต้องทำ" สารัตถทีปนี อรรถกถาสังยุตตนิกาย เล่ม ๓ หน้า ๑๑๕
โคตรภูญาณละกิเลสได้ชั่วคราว
" การละภาวะที่มีสังขารเป็นนิมิตด้วยโคตรภูญาณนี้ ชื่อว่า ตถังคปหาน (ละชั่วคราว)"
ตัวของเราจะเข้านิพพานได้หรือไม่ ?
คำตอบคือ "ได้" โดยจะต้องตั้งใจเจริญภาวนาไปจสเข้าถึงโคตรภูญาณ เป็นโคตรภูบุคคล จากนั้น
" การละภาวะที่มีสังขารเป็นนิมิตด้วยโคตรภูญาณนี้ ชื่อว่า ตถังคปหาน (ละชั่วคราว)"
ตัวของเราจะเข้านิพพานได้หรือไม่ ?
คำตอบคือ "ได้" โดยจะต้องตั้งใจเจริญภาวนาไปจสเข้าถึงโคตรภูญาณ เป็นโคตรภูบุคคล จากนั้น
ฝึกต่อไปจนเข้าถึงภาวะความเป็นอริยบุคคลที่สูงขึ้นไปตามลำดับ ก็จะเห็นอริยสัจจ์และทำนิพพานให้แจ้งได้ละเอียดลึกซึ้งขึ้น ในที่สุดก็จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ซึ่งไม่ยากจนเกินไปที่เราจะปฏิบัติได้ เพราะถ้ายากเกินไปแล้ว ก็คงจะไม่มีพระอรหันเป็นล้าน ๆ รูปในสมัยพุทธกาล ถ้านิพพานนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าไปได้พระองค์เดียว คนอื่นไปไม่ได้เลย ก็จะบอกว่ายาก แต่จริง ๆ แล้วมีผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ตั้งใจฝึกสมาธิจนเกิดปัญญาเข้านิพพานได้มากมาย แสดงว่าไม่ยากจนเกินไป แต่แน่นอนก็คงไม่ง่าย เพราะถ้าง่ายเราก็คงเข้าไปตั้งนานแล้ว
เพราะฉะนั้น ตั้งใจฝึกตัวเองกันเข้า วันหนึ่งเราก็จะเป็นคนหนึ่งที่ทำได้ แล้วเข้านิพพานได้ ตอนนี้ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่ว่ายังไม่ได้ทำต่างหาก อย่าเพิ่งไปกลัว อย่าไปท้อใจเสียก่อน ว่าจะทำไม่ได้ ถ้าทำจริงแล้วต้องได้
เพราะฉะนั้น ตั้งใจฝึกตัวเองกันเข้า วันหนึ่งเราก็จะเป็นคนหนึ่งที่ทำได้ แล้วเข้านิพพานได้ ตอนนี้ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่ว่ายังไม่ได้ทำต่างหาก อย่าเพิ่งไปกลัว อย่าไปท้อใจเสียก่อน ว่าจะทำไม่ได้ ถ้าทำจริงแล้วต้องได้
อานิสงส์ของการทำพระนิพพานให้แจ้ง
๑. ทำให้จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
๒. ทำให้จิตไม่โศก
๓. ทำให้จิตปราศจากธุลี
๔. ทำให้จิตเกษม
"ไฟใดเสมอด้วยราคะไม่มี โทษใดเสมอด้วยโทสะไม่มี ทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์ไม่มี สุขใดเสมอด้วยความสงบไม่มี ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง" ขฺ. ธ.๒๕/๒๕/๔๒
................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น