Welcome

ยินดีต้อนรับทุกท่าน

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก



                                    ผู้ใด                    มีรัก              ผู้นั้นมีทุกข์    
                                    เหมือนติดคุก    จุกเจา           เฝ้ารอคอย
                                    เวลาผ่านไป      อย่างไร้         ร่องรอย   
                                    สุดท้อถอย        น้อยใจ          ในชีวิต
                                    ผู้ไม่มีรัก            ผู้นั้น              ย่อมสุข    
                                    ไม่ต้องทุกข์      ยากนาน        รำคาญจิต
                                    จงหมั่น              ฝึกฝนตน      อยู่เนื่องนิตย์    
                                    เพื่อพิชิต           จิตใจ             ให้ไร้โศก


จิตโศก  คือ  อะไร  ?

คำว่า  โศก  มาจากภาษาบาลี  โสกะ  แปลว่า  แห้ง

จิตโศก  หมายถึง  สภาพจิตที่แห้งผาก  เหมือนดินแห้ง  ใบไม้แห้งหมดความชุ่มชื่น  เนื่องจากไม่สมหวังในความรัก  ทำให้มีอาการเหี่ยวแห้งหม่นไหม้  โหยหาขึ้นในใจ  ใจซึมเซาไม่อยากรับรู้อารมณ์อื่นใด ไม่อยากทำการงาน

                                         "เปมโต  ชายตี  โสโก

                                                       ความโศกเกิดจากความรัก"

                                                                           ขฺ. ธ. ๒๕/๒๖/๔๓



ไม่ว่าเป็นคน  สัตว์หรือสิ่งของก็ตาม  ย่อมทำให้เกิดความโศกเศร้าได้ทั้งนั้น  เพราะเหตุว่าจิตเข้าไปติดข้องยินดีพอใจและยึดในสิ่งเหล่านั้น  ว่าเป็นตัวตน  ของตน  เมื่อของนั้นเสื่อมสูญไปหรือพลัดพรากจากไป  ใจก็จะเกิดความโหยหา  ซึมเซา  เหี่ยวแห้ง  เป็นทุกข์


เหตุที่ทำให้เกิดจิตโศกมี  ๒  ประการ  ดังนี้

๑.  เกิดจากความรัก  รักคน   รักสัตว์   รักสิ่งของ   เมื่อมีความรักในคน  ในสัตว์และสิ่งของต่าง ๆ  ไม่ต้องการให้ของที่ตนรักจากไป  ด้วยเหตุพุพังไป  เสื่อมสูญไป  หรือตายจากไป  แต่ไม่มีเลยสักสิ่ง  ที่จะอยู่จีรังยั่งยืน  สรรพสิ่งทั้งหลายอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ทั้งสิ้น  เพราะฉะนั้น  เราผู้ยังเป็นปุถุชนกันอยู่จึงต้องประสบกับทุกข์  ความโศกอยู่ร่ำไป  ตราบใดที่จิตยังไม่บรรลุธรรม  ถึงขั้นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์

๒.  เกิดจากความใคร่  ความกำหนัด  ความปรารถนาอันเกิดจากอารมณ์ต่าง ๆ  เช่น  สี  เสียง  กลิ่น  รส โผฏฐัพพะ  และธรรมารมณ์  อันเป็นเหตุให้เกิดความโศกได้  ถ้าไม่ได้เสวยอารมณ์นั้น ๆ  ตามต้องการ


ผู้ใดไม่มีสิ่งอันเป็นที่รัก  ผู้นั้นก็ไม่มีความทุกข์  เรากล่าวว่าผู้นั้น  ไม่มีความเศร้าโศก  ปราศจากกิเลสธุลี
ไม่มีอุปายาส  คือ ความตรอมใจ  ความกลุ้มใจ

                                                                               ขฺ. อ. ๒๕/ ๑๗๖/๒๒๕ 

                              
                                        โบราณท่านสรุปเป็นข้อเตือนใจไว้ว่า

                                   "มากรักนักมากน้ำตา   หมดรักก็หมดน้ำตา

                                       มากรักก็มากทุกข์   หมดรักก็หมดทุกข์


ข้อควรปฏิบัติ

ผู้ที่ไม่มีจิตโศกเศร้า  คือ  พระอนาคามีและพระอรหันต์เท่านั้น  เพราะฉะนั้น  การที่จะไม่ให้มีจิตโศกเศร้าเกิดขึ้น นั้น  ก็จะต้องศึกษาพระธรรมจนเข้าใจถูกต้อง  มีความเห็นถูกต้อง  แล้วจึงอบรมเจริญสติเนื่อง ๆ ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องด้วย   หมั่นฝึกระลึกรู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรม  ที่กำลังปรากฏทางตา  หู  จมูก  ลิ้น  กายและใจ  ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป  ไม่ใช่ตัวตน  สัตว์  บุคคล  เรา  เขา  ฝึกบ่อย  ๆ  จนกระทั่งสติมีกำลังแคล่วคล่องว่องไว  ปัญญาก็จะเกิดขึ้นทำกิจของปัญญาเมื่อมีเหตุปัจจัยที่จะทำให้ปัญญาเกิด  สติเป็นเพียงเครื่องกั้นกระแสกิเลส   ปัญญาเท่านั้นที่จะประหารกิเลสได้โดยเด็ดขาด   ดังนั้น  ผู้มีจิตไม่โศกเศร้าก็คือผู้ทำนิพพานให้แจ้งแล้วนั่นเอง  แต่ก็ต้องเป็นผู้ที่ได้สะสมปัญญามาอย่างต่อเนื่องหลายภพชาติแล้ว  จึงจะเกิดปัญญารู้ประจักษ์แจ้งในพระธรรมได้


.............................................













1 ความคิดเห็น:

  1. As reported by Stanford Medical, It's in fact the one and ONLY reason women in this country get to live 10 years more and weigh an average of 19 KG lighter than we do.

    (Just so you know, it really has NOTHING to do with genetics or some secret-exercise and really, EVERYTHING to "how" they eat.)

    BTW, What I said is "HOW", not "WHAT"...

    Click on this link to see if this little questionnaire can help you release your true weight loss possibility

    ตอบลบ